วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

cpu intel

ตารางแสดงซีพียูอินเทล เรียงจากความเร็วสูงสุดจนถึงต่ำสุด

ซีพียูอินเทลจุดเด่นและรายละเอียด
Intel Core i7 Processor Extreme Editionเร็วที่สุด สำหรับเล่นเกมและการทำงานมัลติทาสกิ้ง (ทำงานมากว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน
Intel Core i7 Processorทำงานได้เร็วมาก แต่น้องๆ เป็นรองเฉพาะ Intel Core i7 Processor Extreme Edition
Intel Core 2 Extreme Processorถือเป็นซีพียู Quad-Core
Intel Core 2 Quad Processorรองรับงานมัลติมีเดีย HD และเกม
Intel Core 2 Duo Processorรองรับงานมัลติมีเดีย HD พร้อมประหยัดพลังงาน
Intel Pentium Processorรองรับการทำงานมัลติทาสกิ้งด้วย
Intel Celeron processor (Dual Core)ทำงานได้ดีระดับหนึ่ง




Intel Celeron processor (Single Core)ทำงานได้ดีระดับหนึ่ง แต่ยังเป็นรอง Dual Core)
Intel Atom processorสำหรับ Netbook โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับใช้เล่นอินเตอร์เน็๖



http://www.manacomputers.com/different-cpu-intel-i3-i5-i7/

วันนี้ได้มีโอกาสเก็บโบชัวร์ผลิตภัณฑ์ CPU รุ่นใหม่ของ Intel ซึ่งตอนนี้ได้ทำการประชาสัมพันธ์ CPU รุ่นใหม่นี้เป็นอย่างมาก นั่นก็คือ Core i3, i5 และ i7 ซึ่งหากใครหลายคนสนใจที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งชุดหรืออัพเกรดเฉพาะส่วน (ซีพียู,เมนบอร์ด,แรม) ผมไม่อยากให้คุณมองข้าม CPU รุ่นนี้นะครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ ไอ้ซีพียูแต่ละตัวที่ว่านี้ มันเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร? ซื้อมาใช้แล้วจะคุ้มหรือไม่? วันนี้ผมจะมาเล่าให้คุณฟังครับ
หลังจากที่ทาง Intel ได้ทำการเปิดตัว CPU รุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร เพิ่มมาอีก 2 รุ่นก็คือ i3, i5 (ส่วน i7 นั้นยังไม่มีตัว 32 นาโนเมตรครับ) ซึ่งทางอินเทลได้ปรับปรุงในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นจากซีพียูรุ่นก่อนๆ ให้เพิ่มมากขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้นกว่าเดิม แต่ปัญหาสำคัญก็คือ CPU รุ่นนี้จะต้องใช้ Mainboard Socket ใหม่ คือแบบ 1156 (ตัวก่อนหน้านี้ใช้ Socket 775 ) ทำให้คนที่ต้องการจะอัพเกรดคอมพิวเตอร์ของตนนั้น ต้องเผื่อในส่วนของราคาเมนบอร์ดตัวใหม่ด้วยครับ


.ความแตกต่างของซีพียูแต่ละตัวคืออะไร? 


หลายคนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่อาจจะต้องหยุดคิดพิจารณาสักนิดหนึ่งก่อนนะครับ ตามความคิดเห็นของผมนั้น หากคุณต้องการที่จะซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ในช่วงนี้ ผมอยากให้คุณมองถึง CPU รุ่นนี้ พร้อมทั้ง Mainbord,Ram ที่เข้ากับ CPU รุ่นนี้ได้
คำถามต่อมา คุณอาจจะสงสัยว่า แล้ว i3, i5 และ i7 นี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผมจึงขอนำตารางที่สแกนมาจากโบชัวร์ของบริษัท Intel มาให้คุณได้ลองดูไปด้วยกันเลยครับ (ถ้าไม่นับถึงความเร็วของซีพียูนะครับ ใครจะทำซีพียูแพงๆ ความเร็วเท่ากับซีพียูราคาที่ต่ำกว่าล่ะครับ)
สังเกตเส้นสีแดงที่ผมตีกรอบไว้นะครับ ทั้งสามรุ่นนี้ใช้ Socket เดียวกันคือ 1156 ครับ 1. ระบบ Hyper-Threading สิ่งที่่ CPU ตระกูลนี้นำกลับเข้ามาใช้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ระบบ Hyper-Threading (ระบบการจำลองชุดคำสั่งแบบคู่ขนาน) ซึ่ง intel เคยนำมาใช้ตอน Pentium 4 ครับโดย
i7 จะมี 4 คอร์ 8 เธรด i5 จะมี 4 คอร์ 4 เธรด และ 2 คอร์ 4 เธรด i3 จะมี 2 คอร์ 4 เธรด 2. Cache L3 ระบบ Cache L3 เป็นระบบที่ทำ AMD นำมาใช้ก่อนในซีพียูรุ่นก่อนแล้ว ซึ่ง intel เพิ่งจะนำเข้ามาใช้กับซีพียูตระกูลนี้ัครับ i7 จะมี Cache L3 8 MB
i5 จะมี Cache L3 8 MB และ 4 MB i3 จะมี Cache L3 4 MB 3. ราคา ซึ่งทาง intel ได้วางตำแหน่งของซีพียูตระกูลนี้ไว้ 3 ระดับด้วยกัน i7 เป็นซีพียูในระดับสูง ราคาจะอยู่ในช่วง 10,000 บาท ขึ้นไป
i5 เป็นซีพียูใน ระดับกลาง ราคาจะอยู่ในช่วง 6,000 – 7,000 บาท 
i3 เป็นซีพียูใน ระดับพื้นฐาน ราคาจะอยู่ในช่วง 4,000 – 5,000 บาท

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (อังกฤษComputer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฏีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฏีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฏีเครือข่าย
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ประวัติของชื่อ

คำว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ มีความหมายเทียบเท่ากับคำในภาษาอังกฤษ คือ computer science (หรือในสหราชอาณาจักร นิยมใช้คำว่า computing science โดยมีความหมายต่างกันเล็กน้อย)
คำที่ใช้ในภาษาฝรั่งเศสคือ Informatique จาก "information" (สารสนเทศ) และ "automatique" (อัตโนมัติ) บัญญัติโดย Philippe Dreyfus ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ซึ่งคำในภาษาอิตาลี Informatica และภาษาสเปน Informática ก็มีที่มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสคำนี้ ส่วนคำที่ใช้ในภาษาเยอรมันคือ Informatik ซึ่งก็ดูคล้ายกัน และมีรากจากคำทั้งสองเหมือนกัน แต่ได้ถูกบัญญัติใช้ในเยอรมันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) และเมื่อไม่นานมานี้ ในภาษาอังกฤษเอง ก็ได้มีการใช้คำว่า informatics ซึ่งก็มาจากรากเดียวกัน แต่มักใช้หมายความถึง information science (สารสนเทศศาสตร์) หรือในบางครั้งใช้แทนคำว่า computer science (หรือ computing science) แต่กินความหมายที่กว้างไปกว่าคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักร โดยรวมถึงการคำนวณและสารสนเทศในธรรมชาติด้วย

[แก้]ชื่อในภาษาไทย

คำว่า "computer science" แต่เดิมในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า "คอมพิวเตอร์ไซแอนส์" [1] โดยเป็นชื่อของหน่วยงานหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ต่อมาได้ย้ายมาเป็นภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ และยังคงหลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มหาบัณฑิตไว้ ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศที่ใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์" ส่วนหน่วยงานที่เปิดสอนวิชานี้ในระดับปริญญาตรีแห่งแรกในประเทศไทยคือ สาขาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (ชื่อเดิม) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสาเหตุที่เดิมเรียกว่า "ศาสตร์คอมพิวเตอร์" เนื่องจากคำว่า "ไซน์" ในความหมายนี้คือ "ศาสตร์" เช่นเดียวกับใน สังคมศาสตร์ หรือ โซเชียลไซน์ (social science)

ผู้บุกเบิก


รางวัลทางด้านคอมพิวเตอร์

[แก้]สาขาหลัก

วิทยาการคอมพิวเตอร์คือการศึกษาแนวคิด และทำการพิสูจน์อย่างมีแบบแผนเพื่ออธิบายระบบและกระบวนการขั้นตอนในการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิตัลอื่นๆ วัตถุประสงค์ของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นไม่ต่างจากวิทยาศาสตร์สาขาอื่น คือ เพื่อให้ทฤษฎีที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาถูกนำมาใช้ในการสร้างอุปกรณ์และนวัตกรรมที่ใช้ได้ในสถานการณ์จริง ซึ่งอาจนำมาสู่ระบบใหม่ๆ ที่รองรับการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อต่อยอดในสาขาวิชาต่อไป

[แก้]พื้นฐานคณิตศาสตร์

[แก้]วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี

[แก้]ฮาร์ดแวร์

[แก้]ซอฟต์แวร์

[แก้]ระบบข้อมูลและสารสนเทศ

[แก้]ระเบียบวิธีคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์

[แก้]ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

[แก้]สาขาที่เกี่ยวข้อง

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือศาสตร์คอมพิวเตอร์มีความสัมพันธ์กับสาขาอื่นๆ อีกหลายศาสตร์ ถึงแม้ว่าในแต่ละศาสตร์ จะครอบคลุมเนื้อหาที่เหมือนกันอยู่อย่างเห็นได้ชัด แต่ว่าแต่ละศาสตร์ หรือสาขาก็จะมีลักษณะสำคัญ และระดับของการศึกษ การวิจัย และการประยุกต์ใช้แตกต่างกันไปจากสาขาอื่นๆ
  • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ การใช้หลักการวิศวกรรม ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเก็บความต้องการ การออกแบบ การสร้าง การทดสอบ วิเคราะห์ จนถึงการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบอุปกรณ์ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การสื่อสาร ควบคู่กับความรู้ทางด้านวิศวกรรม
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (วิศวกรรมส่วนชุดคำสั่ง) เน้นที่กระบวนการวิศวกรรมสำหรับระบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ โดยเริ่มด้วยการวิเคราะห์ความต้องการ, การออกแบบ, การพัฒนา, การทดสอบ ตลอดจนถึงการบำรุงรักษาระบบซอฟต์แวร์
  • วิทยาการสารสนเทศ (สารสนเทศศาสตร์) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาคทฤษฎีสารสนเทศ เริ่มตั้งแต่การรับรู้, การทำความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การจัดเก็บ, การค้นคืน, การสร้าง, การโต้ตอบ, การสื่อสาร, และ การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นการประยุกต์ใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดกับสังคม ธุรกิจ องค์กร หรืออุตสาหกรรม
  • ระบบสารสนเทศ เป็นการศึกษาการใช้งานคอมพิวเตอร์ สำหรับระบบการทำงานที่อาศัยข้อมูลสารสนเทศ เพื่อจุดประสงค์ในการช่วยเหลือสนับสนุน การดำเนินงานต่างๆ ภายในองค์กร โดยคำประยุกต์ใช้งานนั้น จะมีความหมายครอบคลุมถึง การออกแบบ,ใช้งาน, การติดตั้ง, และการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, เครือข่าย, บุคลากร หรือข้อมูล

อ้างอิง

  1. ^ ประวัติ และความเป็นมาของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ชั้นหนังสือ วิทยาการคอมพิวเตอร์